แนวทางส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง จาก Mobility data หนุนยุทธศาสตร์เที่ยวไทยเติบโตยั่งยืน

หน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ  ร่วมกับดีแทค สดช. และบุญมีแล็บ
วิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรองจาก Mobility data เพื่อหาแนวทางส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง จาก Mobility data หนุนยุทธศาสตร์เที่ยวไทยเติบโตยั่งยืน ซึ่งเป็นการร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และเอกชนในการนำร่องใช้ Mobility data เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยโจทย์ของการวิจัยในครั้งนี้ มุ่งเน้นที่ ‘การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว’ หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติโควิด-19 เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ซึ่งได้นำเสนอในงาน Public Forum Tapping the Untapped ฟื้นฟูการท่องเที่ยวในประเทศผ่าน Mobility Data วันที่ 5 กันยายน 2565 นับเป็นก้าวแรกของความร่วมมือของหลายหน่วยงานในการขับเคลื่อนการใช้ข้อมูลดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ เพื่อนำ Mobility Data มาใช้ในการจัดทำนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย
ทีมวิจัยได้เสนอผลจากการวิจัยเป็นข้อเสนอนโยบายสาธารณะจากการวิเคราะห์ mobility data มาวิเคราะห์เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการส่งเสริมการกระจายนักท่องเที่ยวและโอกาสทางเศรษฐกิจสู่จังหวัดเมืองรองตามศักยภาพที่แตกต่างกันของแต่ละจังหวัดด้วย 3 แนวทางสำคัญส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในประเทศ ได้แก่ การดึงดูดการท่องเที่ยวระยะใกล้หรือ Micro-tourism การส่งเสริมการค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ และการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์
ในวันที่ 14 ธ.ค. 2565 ได้มีการ Mobility Data Dashboard แพลตฟอร์มเจาะลึกการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านข้อมูลมือถือ จากการต่อยอดงผลจากงานวิจัย Mobility Data เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง แพลตฟอร์มที่นำเสนอข้อมูลทั้ง 77 จังหวัดและข้อมูลศักยภาพเมืองรอง 55 จังหวัดจากผลการวิจัย โดยเจาะลึกถึงระดับอำเภอ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจ ทั้งนักออกแบบนโยบายสาธารณะ ผู้ประกอบการ นักลงทุน และประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวตลอดจนสินค้าและการบริการด้านการท่องเที่ยวในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผลการศึกษาวิจัยสู่ข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง

ด้วยข้อมูลที่มีความละเอียดอย่าง Moblity Data ทำให้ทีมวิจัยสามารถวิเคราะห์ศักยภาพที่แตกต่างกันของเมืองรอง โดยการสร้างดัชนีชี้วัดศักยภาพเมืองรองได้ 3 ตัว เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางการพัฒนาที่มีความเหมาะสมกับแต่ละจังหวัด

1. การดึงดูดการท่องเที่ยวระยะใกล้หรือ Micro-tourism

การส่งเสริม Micro tourism หรือการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับในระยะการเดินทางประมาณ 150 กิโลเมตร หรือใช้เวลาเดินทางราว 1-2 ชั่วโมง เพื่อมาร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้รวมถึงบริโภคสินค้าและบริการของท้องถิ่น ซึ่งมีแนวโน้มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งในกลุ่มครอบครัว กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยเกษียณอายุ การพัฒนาการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ทำได้โดยการผลักดันให้เกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยร่วมกันพัฒนากิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตผลผลิตและสินค้าของท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ เปิดโอกาสให้เกิดการบริโภคสินค้าและบริการที่เกิดจากทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างรายได้เสริมจากท่องเที่ยวให้กับเกษตรกรและผู้ผลิต การดำเนินการมุ่งเน้นการใช้สถานที่และอุปกรณ์ที่เกษตรกรและผู้ประกอบการมีอยู่เดิมมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อลดต้นทุน ตัวอย่างเช่น เวิร์คชอปเรียนรู้การทำหัตถกรรมพื้นบ้าน การเที่ยวชมชุมชนเกษตรกรรมร่วมกับไกด์ท้องถิ่น การทดลองทำอาหารพื้นถิ่น การร่วมเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ศึกษาได้พัฒนาดัชนีชี้วัดศักยภาพของเมืองรองในพัฒนา Micro tourism จาก mobility data โดยใช้ 3 เกณฑ์ชี้วัด ได้แก่

  1. ปริมาณการเดินทางท่องเที่ยวแบบไปกลับที่เข้ามาในพื้นที่
  2. สัดส่วนการเดินทางท่องเที่ยวแบบไปกลับที่สามารถดึงดูดได้จากจังหวัดอื่นในระยะ 150 กม.
  3. ความสามารถในการดึงดูดการท่องเที่ยวแบบไปกลับได้จากระยะไกล

จะพบว่า จังหวัดเมืองรองที่มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบ Micro tourism อย่างโดดเด่นมีจำนวน 16 จังหวัดประกอบด้วยจังหวัดนครศรีธรรมราช เชียงราย นครพนม ลำพูน นครนายก ระนอง เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี แม่ฮ่องสอน พัทลุง ราชบุรี นครสวรรค์ บุรีรัมย์ มหาสารคราม สุพรรณบุรี และชุมพรตามลำดับ

2. การส่งเสริมการค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่

การส่งเสริมการค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ (Experience-based overnight tourism) เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกระจายผลลัพธ์เชิงบวกจากการท่องเที่ยวสู่เมืองรอง เนื่องจากการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายและเวลาพำนักของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและเพิ่มโอกาสในการบริโภคสินค้าและบริการในท้องถิ่นเพื่อกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการและชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นกลไกในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชนในช่วงระยะเวลาพักค้าง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นสามารถนำเสนอคุณค่าในด้านต่างๆ และออกแบบการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในกิจกรรมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชน เช่น การเข้าร่วมเทศกาล การร่วมกิจกรรมบูรณะอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การร่วมปลูกและดูแลป่าชุมชน เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมต่างถิ่น (Cultural Exchange) และการสร้างกลุ่มผู้สนับสนุน (fanbase) สำหรับสินค้าและบริการของท้องถิ่นในระยะยาว

ทั้งนี้ จากการวัดศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่โดย mobility data ผ่าน 3 ดัชนีชี้วัด ได้แก่

  1. ปริมาณการกระจุกตัวของการเดินทางท่องเที่ยวแบบค้างคืนในพื้นที่
  2. สัดส่วนการเดินทางท่องเที่ยวแบบค้างคืนที่สามารถดึงดูดได้จากจังหวัดอื่นในระยะ 150 เมตร 
  3. สัดส่วนการเลือกพักค้างของผู้มาเยือนในพื้นที่

พบว่ามี 21 จังหวัดเมืองรองที่มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ได้แก่ นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ เชียงราย อุบลราชธานี พิษณุโลก ชุมพร จันทบุรี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ เลย ตราด น่าน นครสวรรค์ อุดรธานี ลำปาง ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคราม สตูล ตรัง และชัยภูมิ ตามลำดับ

3. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์

การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์ เป็นแนวคิดการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างกลุ่มจังหวัดเมืองรองที่นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเดินทางไปเยือนในการเดินทางท่องเที่ยว 1 ทริป เพื่อเพิ่มทางเลือกในเป้าหมายการเดินทางท่องเที่ยวให้กับผู้มาเยือน ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนพื้นที่ เพิ่มการใช้เวลาในการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดเมืองรอง การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างกลุ่มจังหวัดอาจดำเนินการได้โดยการสร้างเรื่องราว (Storytelling) เชื่อมโยงสถานที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัด การจัดโปรโมชั่นส่วนลดที่พักและร้านอาหารในกลุ่มจังหวัด การพัฒนากิจกรรมเพื่อสะสมแต้มผ่านสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่สามารถใช้ในแต่ละกลุ่มจังหวัด เป็นต้น
การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์ เป็นแนวคิดการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างกลุ่มจังหวัดเมืองรองที่นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเดินทางไปเยือนในการเดินทางท่องเที่ยว 1 ทริป เพื่อเพิ่มทางเลือกในเป้าหมายการเดินทางท่องเที่ยวให้กับผู้มาเยือน ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนพื้นที่ เพิ่มการใช้เวลาในการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดเมืองรอง การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างกลุ่มจังหวัดอาจดำเนินการได้โดยการสร้างเรื่องราว (Storytelling) เชื่อมโยงสถานที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัด การจัดโปรโมชั่นส่วนลดที่พักและร้านอาหารในกลุ่มจังหวัด การพัฒนากิจกรรมเพื่อสะสมแต้มผ่านสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่สามารถใช้ในแต่ละกลุ่มจังหวัด เป็นต้น

ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์ mobility data สามารถแบ่งประเภทของคลัสเตอร์ของการท่องเที่ยวที่จังหวัดเมืองรองเป็นสมาชิกได้เป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

  1. กลุ่มเมืองรองแฝงเมืองหลัก เป็นกลุ่มที่มีจังหวัดเมืองรองร่วมอยู่ด้วย แต่สมาชิกในกลุ่มโดยส่วนใหญ่เป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก เช่น กลุ่มจังหวัดบุรีรัมย์-นครราชสีมา-สระบุรี
  2. กลุ่มเมืองรองล้อมเมืองหลัก เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกโดยส่วนใหญ่เป็นจังหวัดเมืองรองอยู่ร่วมกับจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก เช่น กลุ่มจังหวัดนครสวรรค์-ชัยนาท-สิงห์บุรี-อ่างทอง-พระนครศรีอยุธยา-ปทุมธานี
  3. กลุ่มเพื่อนเมืองรอง เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีสมาชิกทั้งหมดเป็นจังหวัดเมืองรอง เช่น กลุ่มจังหวัดลำปาง-ตาก-กำแพงเพชร-นครสรรค์ 
  4. กลุ่มเมืองฝาแฝด เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกเพียง 2 จังหวัด โดยมีทั้งการจับคู่ระหว่างเมืองหลักกับเมืองรอง หรือระหว่างเมืองรองด้วยกันเอง เช่น จังหวัดปราจีนบุรี-ฉะเชิงเทรา

อีกทั้ง ผลจากการวิเคราะห์การท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์ได้แสดงให้เห็น 22 คลัสเตอร์ที่มีการเดินทางระหว่างกันในระดับสูงมากและระดับสูง รวมถึง 8 เมืองรองที่มีความเหมาะสมแก่การโปรโมทการท่องเที่ยวร่วมกับจังหวัดรอบข้าง ดังนี้

การได้มาซึ่งข้อมูล Mobility Data จึงถือเป็นโอกาสสำคัญซึ่งนำมาสู่การต่อยอดงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเมือง การวางแผนนโยบาย และนำไปสู่การชี้วัดผลจากนโยบาย ไม่เพียงแต่ด้านการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังสามารถบูรณาการข้อมูลเพื่อความเป็นไปได้ในการพัฒนาเพื่อสาธารณะประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ด้านละการคมนาคม ด้านการวางผังเมืองและพื้นที่สาธารณะ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องพึ่งพาความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม