การทดลองใช้เครื่องมือสำรวจฐานทรัพยากรและเครื่องมือทดสอบการเป็นผู้ประกอบการ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (DCE) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค 

โดย ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์ และคณะ เป็นวิทยากรการอบรมกระบวนการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ฐานอัตลักษณ์และทรัพยากร และแนะนำเครื่องมือสำรวจฐานทรัพยากรสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ ภายใต้โครงการวิจัย “การออกแบบอัตลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับหน่วยจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับศตวรรษที่ 21” โดยทำการบรรยายและจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทดลองใช้เครื่องมือสำรวจฐานทรัพยากรรวมถึงเครื่องมือทดสอบการเป็นผู้ประกอบการ 

ภาคเหนือและภาคเหนือ-ตะวันออก : เชียงใหม่

ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมเฮือนราชพฤกษ์ โรงแรมสวนทวีชล จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 79 คน จากทั่วภูมิภาค (37 หน่วยการจัดการเรียนรู้) 

ภาคใต้ : สงขลา (หาดใหญ่)

ในวันที่ 28 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมคิงส์ตัน โรงแรมคริสตัล จังหวัดสงขลา
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 38 คน จากทั่วภูมิภาค (13 หน่วยการจัดการเรียนรู้)

ภาคอีสาน : ขอนแก่น

ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมเฮือนราชพฤกษ์ โรงแรมสวนทวีชล จังหวัดเชียงใหม่   ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 79 คน จากทั่วภูมิภาค (37 หน่วยการจัดการเรียนรู้)

กรุงเทพมหานคร

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องพระแม่ธรณี 4-5 ชั้น 1 โรงแรมอัศวิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร


โดยรอบที่ 1 (09.00-12.00 น.) กลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนหน่วยจัดการเรียนรู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2564 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 12 คน จากทุกภูมิภาค (7 หน่วยการจัดการเรียนรู้)


รอบที่ 2 (13.00-16.00 น.) กลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนหน่วยจัดการเรียนรู้ที่เข้าร่วมโครงการโครงการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ ปี 2565 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 41 คน จากทั่วภูมิภาค (16 หน่วยการจัดการเรียนรู้)

ระยอง

ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2565 โดยลงพื้นที่ทำการลงพื้นที่สำรวจเมืองเก่าระยอง และพื้นที่สวนเกษตร รวมถึง เข้าร่วมทำกิจกรรมกับวิสาหกิจชุมชน ณ อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง

โดยสมาชิกวิสาหกิจฯได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของชุมชน และกระบวนการผลิต “หมี่กรอบ” ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการยกระดับและพัฒนาไปสู่ตลาดภายนอก โดย ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์ ได้ชี้แจงกระบวนการทำงานแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และนิสิตภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ได้ทำการสัมภาษณ์สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชนต่อไป