แผนการพัฒนา (roadmap) เทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ สู่เทศกาลระดับนานาชาติ

สมาคมวิศิษฏ์ล้านนาเพื่ออุตสาหกรรมไมซ์และการ ท่องเที่ยว (Visit Lanna for MICE and Tourism Industry in Northern Thailand) ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (DCE) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำแผนพัฒนาฯ ภายใต้การสนับสนุนการดำเนินการจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางการขับเคลื่อนการจัดเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ในฐานะยุทธศาสตร์พัฒนาเมือง
จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการจัดงานเทศกาลระดับนานาชาติอันการันตีได้จากรางวัล IFEA World Festival & Event City Award 2022 ​​เพื่อการผลักดันศักยภาพจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะเมืองเทศกาลโลกให้เป็นที่ประจักษ์ สมาคมวิศิษฏ์ล้านนาเพื่ออุตสาหกรรมไมซ์และการท่องเที่ยวจึงหยิบยกงานเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ (เทศกาลยี่เป็ง) ซึ่งเป็นเทศกาลประจำเมืองเชียงใหม่ที่มีความสำคัญและเป็นรากฐานที่สะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีอันมีเอกลักษณ์ของชาวล้านนา มาจัดทำแผนพัฒนา (roadmap) เพื่อให้เทศกาลยี่เป็งเป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และยกระดับเทศกาลยี่เป็งสู่เทศกาลระดับนานาชาติ สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมล้านนาที่เป็นเอกลักษณ์อย่างสร้างสรรค์ ควบคู่กับการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นพร้อมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

การจัดทำแผนพัฒนา ฯ ได้มีการวางแผนพัฒนาเทศกาลยี่เป็งสู่การเป็นเทศกาลที่สร้างผลกระทบเชิงบวก (legacy) ให้กับเมืองเชียงใหม่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และนวัตกรรม พร้อมกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการดึงดูดสู่เทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ จากการรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลัก การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ และการสำรวจการจัดงานเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ปี 2565 (เมื่อวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2565) นำมาสู่การจัดทำแผนการพัฒนา (roadmap) เทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

  1. ทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาเทศกาลยี่เป็ง
  2. การพัฒนาเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่สู่เทศกาลระดับนานาชาติ
  3. รูปแบบองค์กรและการบริหารจัดการเทศกาล

ทั้งนี้ รายละเอียดภายในแผนพัฒนาฯ ได้มีการระบุถึงองค์ประกอบที่สำคัญในการขับเคลื่อนเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์ของเทศกาลยี่เป็ง 4 ด้าน ได้แก่

  1. วิถีชีวิตและวัฒนธรรมล้านนา (Cultural Lanna)
  2. ศาสนาและความเชื่อท้องถิ่น (Spiritual Lanna)
  3. สินค้าและความสร้างสรรค์ (Creative Lanna)
  4. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Lanna) เพื่อนำไปสู่การต่อยอดการพัฒนาเทศกาลในอนาคต

กลุ่มเป้าหมายของงานเทศกาลยี่เป็ง มุ่งเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง และประชาชนชาวเชียงใหม่

ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมเฮือนราชพฤกษ์ โรงแรมสวนทวีชล จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 79 คน จากทั่วภูมิภาค (37 หน่วยการจัดการเรียนรู้) 

แนวคิดในการออกแบบและองค์ประกอบของเทศกาล

คือ “น้อมใจ” และการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ซึ่งเป็นคุณค่าสำคัญที่ชาวเชียงใหม่สามารถแบ่งปันให้กับผู้มาเยือนได้สัมผัสผ่านกิจกรรมของเทศกาล

แนวทางการพัฒนาเทศกาล

แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการจัดกิจกรรม และด้านการพัฒนาพื้นที่

รูปแบบองค์กรบริหารจัดการเทศกาล

เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนในการจัดงานเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนา ฯ อันสามารถก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกแก่พื้นที่อย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลด PDF แผนการพัฒนา (roadmap) เทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ สู่เทศกาลระดับนานาชาติ :