WeGo Phatthalung

Previous slide
Next slide
การยกระดับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง
สู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์

โครงการนี้ได้ใช้ระบบสื่อสังคมออนไลน์ (social media) รวบรวมข้อมูลของผู้สนใจการท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุงจากทั่วประเทศ และทําการวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มนักท่องเท่ียวเป้าหมาย เพื่อจัดทําแบรนด์ของเมือง (city brand) ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารคุณค่าของจังหวัดไปยังนักท่องเที่ยวและใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนให้กับจังหวัดพัทลุง คณะผู้วิจัยได้ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการสรุปผลการวิจัยสู่แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองท่องเที่ยว สําหรับจังหวัดพัทลุงที่พร้อมนําไปใช้ในการดําเนินการ

ผลการสํารวจในโครงการนี้พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่สนใจการท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุงเป็นประชากรกลุ่มวัยทํางานที่มี ช่วงอายุ 35-64 ปี มีสัดส่วนเป็นเพศหญิงร้อยละ 56 และเพศชายร้อยละ 44 มีถิ่นที่อยู่ในภาคใต้ตอนล่างและ กรุงเทพมหานครเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานภาครัฐและภาคเอกชน มีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 29,118 บาท กลุ่มเป้าหมายนิยมไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ร้อยละ 92) แหล่งท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรมและวิถีชีวิต (ร้อยละ 57) แหล่งท่องเที่ยวเกษตรกรรมและชนบท (ร้อยละ 48) และแหล่งท่องเท่ียวเชิงประวัติศาสตร์(ร้อยละ47) 

กิจกรรมนิยมทําระหว่างท่องเท่ียวได้แก่ การถ่ายภาพการรับประทานอาหารพื้นถิ่น และการเลือกซื้อสินค้าพื้นถิ่น นอกจากนั้น กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจที่จะไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยวที่สามารถลิ้มลองอาหารพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีความทันสมัยผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิม กลุ่มเป้าหมายนิยมเดินไปท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นระยะเวลา 3 วัน โดย ส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวเป็นกลุ่มประมาณ 3-5 คน ร่วมกับกลุ่มเพ่ือน ครอบครัว และคนรัก  

 

ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเฉลี่ยเท่ากับ 7,050 บาทต่อครั้ง สําหรับทรัพยากรการท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุงที่กลุ่มเป้าหมาย ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ตลาดพื้นถิ่น แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน และแหล่งท่องเทีี่ยวธรรมชาติ กลุ่มเป้าหมายยังมีความประทับใจต่อจังหวัดพัทลุงในด้านการมีธรรมชาติและวัฒนธรรมที่บริสุทธิ์ แท้จริงและเป็นเอกลักษณ์ การที่ประชาชนในพื้นที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิถีชีวิตดั้งเดิมได้อย่างยั่งยืน และการสร้างสรรค์ความร่วมสมัยในวิถีชีวิตดั้งเดิมอย่างลงตัว ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายต้องการท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง 1-2 วัน และต้องการพักค้างแรม 1 คืน

ผลการนําเสนอข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนํามาสู่การร่วมกันกําหนดแบรนด์ของเมือง และแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุงภายใต้วิสัยทัศน์ “Pure พัทลุง” ที่มุ่งเน้นการ พัฒนาเมืองท่องเที่ยวที่นําเสนอคุณค่าในด้าน “ความรัก(ษ์)” “ความแท้จริง” “ความผ่อนคลาย” และ “ความสร้างสรรค”์ ให้กับผู้มาเยือน ผลการหารือร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทําให้ สามารถกําหนดรูปแบบภาพลักษณ์ สื่อประชาสัมพันธ์ และการประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแบรนด์ของเมือง นอกจากนั้นคณะผู้วิจัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันกําหนดแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวสําหรับจังหวัดพัทลุงที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถใช้ดําเนินการพัฒนาเมืองได้อย่างเป็นรูปธรรม